27 มีนาคม 2560
|
เปิดอ่าน 3653
น้ำนมแม่ถูกยกให้เป็นสุดยอดอาหารที่สำคัญและดีที่สุดสำหรับลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า การให้น้ำนมแม่เป็นอาหารแก่ทารกเพียงอย่างเดียวหลังคลอดอย่างน้อย 6 เดือน จะให้ประโยชน์มากมายต่อเด็กทารก น้ำนมแม่ คือ ภูมิคุ้มกันแรกที่ทารกได้รับ เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ทั้งในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อชีวิตของเด็กทารก
แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจจะเคยได้ยินว่าในน้ำนมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับลูกน้อยอยู่หลากหลายชนิด ซึ่งสารอาหารแต่ละชนิดล้วนมีประโยชน์กับสุขภาพร่างกายและพัฒนาการทุกด้านของลูกมาก ซึ่งหนึ่งในสารอาหารที่พบว่ามีมากในน้ำนมแม่อีกชนิดก็คือ สารแอลฟา-แล็คตัลบูมิน ที่เป็นสารตั้งต้นในการช่วยสร้างสารสื่อประสาท แอลฟาและนี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงต้องรณรงค์ให้แม่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ นั่นก็เพราะว่าการที่ลูกได้ทานนมแม่นอกจากจะได้รับสารภูมิคุ้มกันโรคที่ดีต่อสุขภาพร่างกายและสารอาหารที่หลากหลายแล้ว ก็ยังจะได้รับสารแอลฟา-แล็คตัลบูมินจากน้ำนมแม่อีกด้วย สำหรับแอลฟา-แล็คตัลบูมิน คือ โปรตีนคุณภาพ มีความสำคัญต่อการสร้างสื่อประสาท ช่วยเสริมการเรียนรู้ และการพัฒนาสมองของลูกได้อย่างดีเยี่ยม
สารแอลฟา-แล็คตัลบูมิน จะให้กรดอะมิโนจำเป็นชื่อว่า “ทริปโตเฟน” ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท “เซโรโทนิน” และ “เมลาโทนิน” มีส่วนสำคัญที่ช่วยในเรื่องการควบคุมการนอนหลับ รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการด้านสติปัญญาของลูกดีได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆ เลยค่ะ
สำหรับสารแอลฟา-แล็คตัลบูมินที่พบมากในน้ำนมแม่ ได้มีบทสัมภาษณ์ของ ศาสตราจารย์ คริสโตเฟอร์ ดูปองต์ หัวหน้าหน่วย หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหาร ตับและโภชนาการ โรงพยาบาลเด็ก Necker Sick ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งศาสตราจารย์ คริสโตเฟอร์ ดูปองต์ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร MIM Med Com ประเทศสิงคโปร์ ที่พบว่าสารอาหาร “แอลฟา-แล็คตัลบูมิน” เป็นโปรตีนคุณภาพที่สำคัญต่อการสร้างสื่อประสาท ช่วยเสริมการเรียนรู้ และการพัฒนาสมองของเด็กได้อย่างดีมีประสิทธิภาพมาก
ครั้งแรก การศึกษาเชิงสังเกตของ Dr. Chetham และ Dr. Sheppard ที่มหาวิทยาลัย North Carolina ประเทศ สหรัฐอเมริกา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารในนมแม่ ลูทีน โคลีน และ ดีเอชเอกับความจำของทารกอายุ 6 เดือน โดยการวิเคราะห์สารอาหารสำคัญ ในน้ำนมแม่ที่ให้นมบุตรที่อายุ 3 -4 เดือน และทดสอบความจำ ในทารก 67 คนที่ได้นมแม่ที่นำมาวิเคราะห์ ที่อายุ 6 เดือน เพื่อดูความสัมพันธ์ของผลการทำงานร่วมกันของ DHA Choline Lutein กับความจำทารก ผลการศึกษา แสดงความสัมพันธ์ของทำงานร่วมกัน 3 สารอาหารในนมแม่ที่มี 3 สารอาหารในปริมาณที่สูงกว่า (ดีเอชเอ &โคลีน, โคลีน & ลูทีน) มีความสัมพันธ์กับกระบวนการสร้างความจำที่ดีกว่าในทารก อย่างไรก็ตามยังต้องการ การศึกษาเพิ่มเติมในการทำงานร่วมกันของสารอาหารเหล่านี้ 1
1. Cheatham CL and Sheppard KW. Synergistic Effects of Human Milk Nutrients in the Support of Infant Recognition Memory: An Observational Study. Nutrients 2015: 7; 9079-95.
ที่มา : https://th.theasianparent.com/