นานาสาระ  >> Job Tips

เรื่อง เงิน น่ารู้ ก่อน ว่างงาน

17 มกราคม 2554

|

เปิดอ่าน 3278

คนว่างงาน ...คำนี้ไม่เข้าใครออกใคร และคุณมี หลักประกันมากน้อยแค่ไหน ถ้าถูกเลิกจ้างแล้ว

       จะสามารถอยู่ได้ไม่ลำบาก มาสำรวจตัวเองกันว่าคุณมีความปลอดภัยเรื่องเงินแค่ไหน หากถูกลอยแพและต้องกลายเป็นคนว่างงาน


เงินเก็บอย่างน้อย 3 ปี
     หากคุณเป็นผู้หญิงตัวคนเดียวไม่มีภาระ เงินเก็บจำนวนที่ปลอดภัยที่สุด จะต้องมีให้ใช้จ่ายได้อย่างน้อย 3 ปี เพราะคุณไม่สามารถรู้ได้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และคาดเดาไม่ได้ว่าเรานั้นจะได้งานเมื่อไร หรือจะโดนให้ออกจากงานอีกหรือเปล่าก็ไม่รู้ได้


เงินทดแทนจากประกันสังคม
     เงินประกันสังคมที่เราส่งกันทุกๆ เดือนจะย้อนกลับมาให้ประโยชน์แก่คุณยามที่ว่างงาน โดยถ้าคุณลาออกจากงานจะได้เงินทดแทน 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วันภายในหนึ่งปี ซึ่งคุณต้องมาขึ้นทะเบียนบุคคลว่างงานทันทีหรือภายใน 30 วัน
แต่ถ้าคุณถูกเลิกจ้างจะได้เงินทดแทน 50% ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน 180 วันภายในหนึ่งปี ทั้งนี้ คุณก็ต้องไม่เลือกงานหรือการฝึกงานที่ประกันสังคมจัดหาให้ด้วย


เงินชดเชยกรณีนายจ้างเชิญออก
     ถ้าบริษัทไปไม่ไหวสุดท้ายต้องเชิญเราออกจากงาน คุณควรรู้อัตราค่าชดเชยมาตรฐานที่นายจ้างสมควรให้คุณด้วย ดังนี้

 

  ลูกจ้างทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ถึงหนึ่งปี นายจ้างต้องจ่ายให้ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
  ลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายให้ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
  ลูกจ้างทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายให้ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
  ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายให้ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน

 


ทำประกันกรณีว่างงาน
    เมื่อประกันมีกรมธรรม์มากมายให้คุณเลือก หนึ่งในนั้นคือการประกันรายได้ ซึ่งมีผลดีอย่างมากในกรณีที่คุณว่างงานหรือไม่มีรายได้เหมือนอย่างเคย ภาระทั้งหมดที่คุณได้เคยแจ้งไว้ทางประกันจะเป็นคนช่วยเหลือเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งประกันจะประเมินจากรายรับและภาระที่คุณมีอยู่ด้วย


เพิ่มศักยภาพให้ตัวเอง
    อย่ายึดติดว่าคุณสามารถทำงานได้เพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น ไห้คุณลองดูความสามารถอย่างอื่นด้วย อย่างเช่น หากคุณทำงานด้านการเงินมากว่า 10 ปี เมื่อถึงคราวเปลี่ยนงานคุณอาจจะสมัครในตำแหน่งอื่นๆ บ้าง เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวเอง อาทิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ เจ้าหน้าฝ่ายขาย เป็นต้น อย่าให้ความสามารถของเราจำกัดการทำงานจนเกินไปนัก

 

ที่มาภาพและเรื่องจาก


ที่มา : Mthai.com

Share |